ทำไมงานพิมพ์ถึงสีเพี้ยน ? ไขทุกข้อสงสัย พร้อมเคล็ดลับการออกแบบ

Last updated: 16 ม.ค. 2567  |  265 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมงานพิมพ์ถึงสีเพี้ยน ? ไขทุกข้อสงสัย พร้อมเคล็ดลับการออกแบบ

ไขข้อสงสัย ทำไมงานออกแบบกับงานพิมพ์ ถึงมีสีที่แตกต่างกัน ?
คุณเคยหรือไม่ ? ตั้งใจออกแบบงานพิมพ์มาเป็นอย่างดี ทุ่มเทแรงกายแรงใจตั้งใจทำอย่างสุดฝีมือ จนออกมาเป็นผลงานที่พึงพอใจ แต่พอปริ้นท์ออกมาแล้ว สีในงานออกแบบกลับไม่ตรงกับที่ออกแบบเอาไว้ซะงั้น !! หากคุณเคยพบกับประสบการณ์สุดเฟลเช่นนี้ เราต้องขอปลอบใจเลยว่าไม่ใช่คุณคนเดียวที่เคยพลาด ยังมีผู้ที่ตกม้าตายในด้านของการออกแบบ จนทำให้ต้องผิดหวังไปอย่างเต็มเปา เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา และ เสียความรู้สึก บทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยว่าทำไมสีถึงเพี้ยน และ มีเทคนิคการแก้ปัญหาอย่างไร
 
  
ทำความรู้จักกับระบบสี “RGB” และ “CMYK” หนึ่งในความรู้สำคัญงานพิมพ์
ในการออกแบบงานพิมพ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ป้ายแฟนคลับ ป้ายไวนิล หรือ สแตนดี้ หากเลือกใช้โปรแกรมออกแบบตามมาตรฐานอย่าง Photoshop หรือ Illustrator ไปจนถึงโปรแกรมอื่น ๆ จะมีหนึ่งเมนูที่หลาย ๆ คนอาจมองข้าม คือการเลือก “ระบบสี” นี่คือสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้งานออกแบบของคุณนั้นมีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากการออกแบบ โดยระบบสีที่ถูกใช้งานหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ RGB และ CMYK ซึ่งมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้

 

 

 


·      ระบบสี RGB
เริ่มต้นกันที่ระบบสีแบบ RGB เป็นระบบสีที่มีแม่สีหลัก 3 สีด้วยกันคือ สีแดง (Red) , สีเขียว (Green) และ สีฟ้า (Blue) ซึ่งเป็นแม่สีทางแสง ที่จะทำการผสมกันในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดสีอื่น ๆ ที่เราสามารถมองเห็น จะปรากฏเฉพาะบนหน้าจอประเภทต่าง ๆ เท่านั้น เช่น หน้าจอโทรศัพท์ , หน้าจอคอมพิวเตอร์ , แท็บเล็ต และ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ดังนั้นหากคุณออกแบบสื่อที่ใช้สำหรับโซเชียลมีเดีย ไม่ได้พิมพ์ออกมาเป็นชิ้นงาน ควรเลือกใช้ระบบสีแบบ RGB จะเหมาะสมที่สุด
·     

ระบบสี CMYK
ในส่วนของระบบสีแบบ CMYK จะเป็นการใช้แม่สีจำนวน 4 สีหลัก ๆ คือ สีฟ้า (Cyan) , สีม่วงอมแดง (Magenta) , สีเหลือง (Yellow) และ สีดำ (Black) เมื่อได้กล่าวถึงทั้ง 4 สีไปแล้ว คุณคุ้น ๆ สีเหล่านี้หรือไม่ ? ติ๊กต๊อก ติ๊กต๊อก ลองนึกดูดี ๆ โป๊ะเชะ !! ใช่แล้ว นั่นคือสีของ “ตลับหมึกเครื่องปริ๊นท์” นั่นเอง หากคุณใช้เครื่องปริ๊นท์อยู่เป็นประจำ จะคุ้นเคยกับสีทั้ง 4 นี้เป็นอย่างดี และนั่นส่งผลให้ในงานสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จึงจำเป็นจะต้องมีการตั้งค่าระบบสีให้เป็นแบบ CMYK หากตั้งเป็น RGB แล้วนำมาพิมพ์ จะทำให้สีที่ออกมาดูผิดเพี้ยนไปนั่นเอง

 

5 เทคนิคการออกแบบงานพิมพ์ ให้พิมพ์ออกมา “ตรงปก” มากที่สุด
เอาล่ะ ! หลังจากที่คุณได้รู้แล้วว่าปัญหาที่คุณกำลังเจอในตอนนี้เกิดจากอะไร ที่จริงแล้วปัญหาเกี่ยวกับการปริ๊นท์สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ออกมาแล้วมีสีที่ผิดเพี้ยน ยังเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นกับคุณ เราจึงขอแนะนำ 5 เทคนิคดี ๆ ที่ช่วยทำให้คุณห่างไกลจากปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์ “ไม่ตรงปก” โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

1.     อย่าลืมใช้ระบบสี CMYK ในการออกแบบ
ไม่ว่าคุณจะออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบไหน ทั้งป้ายแฟนคลับ , รูปภาพ , โปสเตอร์ หรือ สิ่งใดก็ตามที่จำเป็นจะต้องปริ๊นท์ออกมา ในขั้นตอนแรกของการออกแบบ ทุก ๆ เมนูมักจะที่ให้คุณได้เลือก “ระบบสี” หรือ “Color Profile” ให้คุณตัดสินใจเลือกระบบสีแบบ CMYK ตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นการป้องกันปัญหาที่ต้องเหตุได้อย่างตรงจุด

2.     ตรวจสอบความละเอียดของภาพเสมอ
นอกจากรายละเอียดของสีที่ผิดเพี้ยนแล้ว ยังมีในส่วนของสัดส่วนของภาพที่อาจเกิดความเสียหายได้ ซึ่งในส่วนนี้จะต้องใส่ใจในเรื่องความละเอียดของภาพเป็นพิเศษ โดยความละเอียดเบื้องต้นควรจะอยู่ที่ 300 DPI เป็นอย่างน้อย และอย่าลืมในเรื่องของขนาดของภาพ เคล็ดลับง่าย ๆ อยากพิมพ์ออกมาขนาดเท่าไหร่ ก็ให้ตั้งค่าภาพนั้น ๆ ให้มีขนาดเท่ากับที่อยากจะปริ๊นท์ เพียงเท่านี้ก็จะได้ภาพที่คมชัด ภาพไม่แตก สัดส่วนไม่เพี้ยนแล้ว


3.     เลือกใช้โปรแกรมให้เหมาะกับการออกแบบ
โปรแกรมในการออกแบบเองก็เป็นส่วนสำคัญ จากประสบการณ์ของร้าน 8688LED ในบทบาทเป็นร้านป้ายไฟในเวลาเดียวกัน เคยเจอลูกค้าหลาย ๆ คนที่เลือกใช้โปรแกรมในการออกแบบที่แตกต่าง อย่างเช่น การใช้โปรแกรม Power Point ในการออกแบบโปสเตอร์ เป็นต้น แน่นอนว่ายังมีโปรแกรมแปลก ๆ อีกเพียบ ซึ่งผลลัพธ์อาจจะไม่ดีเท่าโปรแกรมเฉพาะทางสักเท่าไหร่

4.     เซฟไฟล์งานพิมพ์ด้วยชนิดไฟล์ที่เหมาะสมมากที่สุด
ชนิดของไฟล์เองก็มีส่วนสำคัญในกระบวนการพิมพ์ นอกจากเลือกใช้โปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานนั้น ๆ อย่าลืมในส่วนของการเซฟไฟล์งานเพื่อส่งให้โรงพิมพ์ อย่าลืมเซฟด้วยชนิดของไฟล์ที่เหมาะสมต่องานออกแบบประเภทนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นไฟล์ภาพที่มีความละเอียดสูง แนะนำให้เลือกเซฟเป็นไฟล์ TIFF หรือ ภาพที่พื้นหลังโปร่งใส แนะนำให้เลือกใช้ไฟล์แบบ PNG เป็นต้น

5.     NOTE! สำคัญ ไม่ว่าโรงพิมพ์จะเก่งกาจขนาดไหน หากไม่อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจในเรื่องภาพในจอกับภาพพิมพ์ ความขัดแย้งก็ยังไม่จางหายไปเพราะ ภาพที่แสดงในจอมือถือหรือมอนิเตอร์แสดงภาพด้วยระบบRGB ส่วนระบบพิมพ์พิมพ์ด้วยระบบCMYK ภาพป้ายไฟแฟนคลับที่พิมพ์ออกมาสีจึงไม่ตรงกับภาพในจอ 100 % นั่นเอง! เราจะให้ค่าความเข้มหรืออ่อนไม่เกิน 15% ยังไม่รวมเหตุการณ์ การเติมหมึกใหม่ เปลี่ยนอะไหล่เครื่องพิมพ์ที่จะทำให้สีแต่ละรอบการพิมพ์ไม่เหมือนกันได้ แถมหากจอที่แสดงผลแต่ละคนต่างกันหากลองเทียบจอเรากับจอเพื่อนสีที่แสดงยังไม่เหมือนกันไปอีก!! ว้าวุ่นกันเลยทีเดียว
       เราเข้าใจคุณลูกค้าดี เราจึงแนะนำหากต้องการความแม่นยำสูง เช่น งานสีที่ต้องตรงกับ BI CI Brand เราแนะนำให้Proofสีจริงกับทีมงานก่อนนะคะ ^^


บทส่งท้าย
สำหรับส่วนสุดท้ายของบทความนี้ หากคุณมีความต้องการที่จะปริ๊นท์งานพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นป้ายแฟนคลับ , ป้ายไฟเชียร์ , ป้ายไฟแฟนคลับไดคัท , ป้ายไฟนีออนเฟล็กซ์ สามารถติดต่อใช้บริการของ 8688LED ร้านป้ายไฟ ที่พร้อมมอบบริการสุดพิเศษให้กับคุณ เรามีแบบป้ายให้เลือกซื้อหลากหลายแบบ ให้บริการอย่างรวดเร็วฉับไว ด้วยราคาสุดพิเศษ สนใจอยากสั่งทำป้ายไฟสามารถติดต่อเราได้เลยที่

-            LINE : @8688LED

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้